อารยธรรมอินเดียควรรู้ก่อนไปเที่ยว
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เริ่มประมาณ 2,500 B.C. – 1,500 B.C. โดยชาวดราวิเดียน ต่อมา 1,500 B.C. – คริสต์ศักราชที่ 6 เป็นอารยธรรมที่ชาวอารยันสร้างขึ้น จนกลายเป็นแบบแผนของอินเดียต่อมา
อนุทวีปอินเดียมีเทือกเขาฮินดูกูชอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและเทือกเขาหิมาลัยอยู่ทางทิศเหนือ ทางตะวันตกและออก ตอนใต้ ติดทะเล ทำให้อินเดียโบราณติดต่อกับภายนอกได้ยาก ทางที่จะเข้าสู่อินเดียได้คือทางช่องเขาตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นทางที่พ่อค้า และผู้รุกรานจากเอเชียกลางเข้าสู่อนุทวีป
อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ ถูกสร้างขึ้นโดยชาวดราวิเดียน (มิลักขะหรือ ทมิฬ) ชนพื้นเมืองเดิมของอินเดียผิวดำ ร่างเล็ก จมูกแบนพูดภาษาตระกูลดราวิเดียน (ทมิฬ ) มีการค้นพบหลักฐานเมื่อค.ศ. 1856 เมื่อมีการก่อสร้างทางรถไฟบริเวณลุ่มน้ำสินธุ ค้นพบซากสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ค.ศ.1920 ปรากฏเป็นรูปเมือง บริเวณเมือง ฮารัปปา(Harappa) และเมืองโมเฮนโจ ดาโร(Mohenjo Daro) อายุประมาณ 2500 ปีก่อนค.ศ. หลักฐานที่ค้นพบจัดเป็นอารยธรรมยุคโลหะมีสังคมเมือง ป้อมปราการขนาดใหญ่ มีสระอาบน้ำสาธารณะนักโบราณคดีสันนิฐานว่าอาจเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มีการวางผังเมือง ตัดถนน มีกำแพงอิฐ บ้านเรือนสร้างด้วยอิฐ มีระบบระบายน้ำสองท่อดินเผาอยู่ข้างถนน เพื่อรับน้ำที่ระบายจากบ้าน มีอักษรภาพใช้ พบโบราณวัตถุรูปแกะสลักหินชายมีเครามีแถบผ้าคาดมีตราประทับตรงหน้าผาก รูปสำริดหญิงสาว รูปแกะสลักบนหินเนื้ออ่อน เครื่องประดับ สร้อยทองคำ สร้อยลูกปัด มีการเพาะปลูกพืชเกษตรเช่นฝ้าย ข้าวสาลี ถั่ง งา ข้าวโพด พบหลักฐานการค้ากับต่างแดนทั้งทางบกและทางทะเล เช่นเปอร์เชีย แอฟกานิสถาน เมโสโปเตเมีย ธิเบต โดยพบโบราณวัตถุหอยสังข์จากอินเดีย หินสี เงิน อัญมณีจากเปอร์เชีย แอฟกานิสถาน หยกจากธิเบต และมีการขุดค้นพบอารยธรรมนี้กว่า 100 แห่งบริเวณแม่น้ำสินธุ ส่วนใหญ่อยู่ในปากีสถาน
ต่อมาชาวอินโด-อารยัน ผิวขาว ร่างสูง จมูกโด่งพูดภาษาตระกูลอินโด- ยูโรเปียน(ภาษาสันสกฤต) อพยพมาจากแถบทะเลสาบแคสเปียน บุกรุกเข้ามาทางเทือกเขาฮินดูกูช มายังลุ่มน้ำสินธุขยายความเจริญมาทางลุ่มแม่น้ำคงคา ชาวดราวิเดียแพ้สงครามต้องเคลื่อนย้ายลงไปทางใต้ สู่ภาคกลางและภาคใต้ของอินเดีย ต่อมาถูกชาวมุสลิมเตอร์กรุกรานทำให้ศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ในอินเดีย
อินเดียสมัยโบราณแบ่งเป็น 5 สมัย
- สมัยอินโด- อารยันรุกราน (2,500- 2,000 C.) เป็นสมัยที่มีการรุกรานระยะแรกและเกิดการสู้รบระหว่างชาวดราวิดียนและอารยันมีการขยายตัวไปทางตะวันออก
- สมัยพระเวท (2,000 -1,000 C.)สมัยที่อารยันได้รับชัยชนะ มีการตั้งถิ่นฐานและสถาปนาเป็นอาณาจักรเล็กๆ มีราชาเป็นผู้นำทางการปกครอง พวกมิลักขะหรือดราวิเดียนถอยลงไปอยู่ทางตอนใต้ อารยันรับเอาขนบธรรมเนียมประเพณีของดราวิเดียนมาใช้ ต่อมาพวกอารยันได้กำเนิดระบบวรรณะขึ้น เพื่อแบ่งแยกและรักษาความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติ มีคัมภีร์พระเวท เป็นคัมภีร์ทางศาสนาและวิถีชีวิต วัฒนธรรมของอารยัน
- สมัยมหากาพย์(1,000 – 500 C.) เกิดอาณาจักรใหม่บริเวณลุ่มน้ำคงคามีลักษณะเป็นนครรัฐอิสระ “ ราชา” เป็นผู้ปกครอง แบบราชาธิปไตย (monarchy) มีฐานะเป็นสมมุติเทพ เช่น อาณาจักรมคธ วัชชั อวันตี วิเทหะ ฯลฯ มีการแบ่งวรรณะชัดเจน 4 วรรณะ พราหมณ์ กษัตริย์(นักรบ) แพศย์ ศูทร(ทาส) มีการติดต่อค้าขายทางเรือ กับอาณาจักรเมโสโปเตเมีย อียิปต์ อาราเบีย สมัยนี้จะมีวรรณกรรมที่สำคัญ คือ มหากาพย์มหาภารตยุทธ เป็นสงครามกลางเมืองที่ทุ่งกุรุเกษตรระหว่างตระกูล ปาณฑพและเการพต้นตระกูลเป็นเชื้อสาย อินโด-อารยัน มีการสอดแทรกบทบาทหน้าที่ของคนที่อยู่ในสังคม ดังปรากฎใน “ภควัทตีคา” สอนในคนทำหน้าที่ของตนในสังคมให้ครบถ้วย และมหากาพย์รามายณะ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการแบ่งชั้นวรรณะ การขยายอาณาเขตของอารยันไปทางตอนใต้ทำสงคราม ปราบชาวดราวิเดียน
- สมัยจักรวรรดิ ( 321 C. – 220 A.D.) ช่วง 6 B.C. มีอาณาจักรทางเหนือที่เข้มแข็ง 2 อาณาจักรคือ มคธ นำโดย (พระเจ้าพิมพิสาร) และแค้วนโกศล ที่ขยายอำนาจปกครองดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ต่อมาถูกเปอร์เชียรุกราน ต้นศตวรรษที่ 3 ก่อนค.ศ. พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย (กรีก) ยกทัพมารุกรานครองตอนเหนือของอินเดีย ทำให้อินเดียได้รับอิทธิพลการเขียนอักษรแบบอารบิคจากเปอร์เชีย (ต่อมาพัฒนาเป็นอักษร ขโรษติ โดยพระเจ้าอโศกมหาราชใช้เขียนจารึก) การทำเหรียญเงิน
ช่วง 4 B.C. เกิดจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่คือ โมริยะ หรือเมารยะ ยึดแค้วนมคธ แล้วขยายอาณาจักรไปทางตะวันตกฉียงเหนือ ตะวันตก ภาคเหนือ ใต้ มีการติดต่อค้าขายกับเอเชียไมเนอร์ กรีก เมโสโปเตเมีย มีกษัตริย์องค์แรกคือพระเจ้าจันทรคุปต์ กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงคือพระเจ้าอโศกมหาราช( 273-236 B.C.) มีอำนาจหลักการปกครองที่สำคัญใช้จากคัมภีร์อรรถศาสตร์ (เกาฏิลยะ) แสดงให้เห็นว่ากษัตริย์ทรงมีอำนาจสูงสุด ในการบริหารราชการ ตรากฏหมาย การศาล การทหาร สมัยนี้มีการสร้างถนนเชื่อมภาคตะวันตกเฉียงเหนือ กับกรุงปาฏลีบุตร ทำสำมะโนประชากร ต่อมาพระเจ้าอโศกมหาราชได้หันมานับถือศาสนาพุทธ ทรงให้มีการจารึกบนเสาหินที่ตั้งอยู่ตามดินแดนต่างๆเป็นหลักของศีลธรรมที่สอดคล้องกับทุกศาสนา (เรียก หัวเสาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช)
ราชวงศ์โมริยะได้สิ้นสุดลงราว 186 ปีก่อน ต่อมา ค.ศ. ที่ 1 พวกกุษาณะผู้เร่ร่อนปกครองตอนเหนืออินเดียมีกษัตริย์ที่สำคัญคือ พระเจ้ากนิษกะปกครองดินแดนที่เรียกว่าแคว้นคันธาระ ทรงนับถือพุทธให้กำเนิดนิกายมหายาน โปรดให้จารึกคำสอนของพระพุทธองค์ลงบน แผ่นทองแดง
5 สมัยคุปตะ (320-550 A.D.) ถือว่าเป็นยุคทองของฮินดูทางตอนเหนือ ต้นคริสต์ ศตวรรษทที่ 4 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ตั้งราชวงศ์คุปตะที่เมืองปัตลีบุตร โอรสของพระองค์ ชื่อ พระเจ้าสมุทรคุปต์ ทรงขยายดินแดนออกไปกว้างไกล ทรงทำเหรียญทองสลักเรื่องราวเกี่ยวกับพระองค์ แล้วนำไปไว้ที่เสาหินของพระเจ้าอโศก ราชวงศ์คุปตะรุ่งเรืองมากในสมัยของพระเจ้าจันทรคุปต์ ที่ 2 (ค.ศ.376-415) เพราะนอกจากจะชนะพวกสากะแล้ว ทรงรวมดินแดนตะวันออกและทางเหนือไว้ในอำนาจ ทรงสนับสนุนศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี กวีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ คือ กลิทัษ
การปกครองสมัยคุปตะเป็นแบบกระจายอำนาจไปตามท้องถิ่น การค้าเจริญขึ้นมาก มีการค้าขายมากขึ้นกับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา และประเทศไทย พ่อค้าที่ร่ำรวยนิยมบริจาคเงินเพื่อสร้างงานสำคัญทางศาสนา เช่น สถูปที่สัญจี อมาราวาตี ฯลฯ วัดพุทธกลายเป็นเจ้าของที่ดินมากมาย ภาษาสันสกฤตกลายเป็นภาษาของผู้รู้หนังสือและเป็นภาษาที่ใช้ในราชการ มีหนังสือกามสูตรเกิดขึ้น เป็นหนังสือที่ชี้ถึงความสำคัญของชีวิตคู่และเพศสัมพันธ์
Post Comment