รู้ข้อมูลประเทศอินเดียก่อนไปทัวร์

ประเทศอินเดีย หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ทิศเหนือติดกับประเทศจีน เนปาลและภูฎาน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน  ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดพม่า ทิศตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และทิศตะวันออกติดบังคลาเทศ 

 

อินเดียมีประชากร จำนวน 1,154  ล้านคน มากเป็นอันดับที่สองของโลกรองจากประเทศจีน  และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก  มีภาษาพูดแปดร้อยภาษาโดยประมาณ มีภาษาหลักใช้พูดถึง 16  ภาษา โดยมีภาษาอังกฤษและภาษาฮินดี เป็นภาษาราชการ  ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก สภาพอากาศในอินเดียมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน  ฤดูฝน และฤดูหนาว    เวลาในอินเดียต่างกับประเทศไทย คือช้ากว่าประเทศไทย  1.30 ชั่วโมง และเงินตราใช้สกุลรูปี(47 รูปี แลกได้  1  U. S. ดอลล่า)                  

              ประเทศอินเดียมีพื้นที่  3,287,590 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับที่  7 ของโลก(ใหญ่กว่าประเทศไทย 6 เท่า)  พื้นที่ทางตอนเหนือของอินเดียเป็นที่ราบสูง ไม่เหมาะสมกับการทำการเกษตร ภาคกลางเป็นที่ราบแต่แห้งแล้งเป็นส่วนใหญ่ และทางตอนใต้มีความเหมาะสมในการปลูกพืช ระบอบการเมือง ใช้ระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ระบบการปกครอง แบบสาธารณรัฐ แบ่งเป็น 28 รัฐ และดินแดนสหภาพอีก 7 เขต มีประธานาธิบดีของประเทศอินเดียเป็นหัวหน้ารัฐธรรมนูญ และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าของรัฐบาลรัฐธรรมนูญอินเดียแบ่งแยกอำนาจระหว่างรัฐบาลกลาง และรัฐบาลมลรัฐ อย่างชัดเจน โดยรัฐบาลกลางดำเนินการเรื่องป้องกันประเทศ ด้านนโยบายต่างประเทศ การรถไฟ การบิน และการคมนาคมอื่น ๆ ด้านการเงิน ด้านกฎหมายอาญา  ส่วนรัฐบาลมลรัฐมีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อย รักษากฎหมาย การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของมลรัฐ โดยมีเมืองหลวงคือ กรุงนิวเดลลี อินเดียเคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2299 ได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2490 และวันชาติของอินเดียคือวันที่ 26 มกราคม ของทุกปี

  • ในด้านการเกษตร ผลผลิตที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวสาลี  มันฝรั่ง  ข้าวโพด  พืชน้ำมัน ฝ้าย  น้ำตาล ชา  ปศุสัตว์ นม(ผลิตได้มากที่สุดในโลก) การจับปลา ผลผลิตทางอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ อาหารแปรรูป เหล็ก อุปกรณ์การขนส่ง ซีเมนต์ และเหมืองแร่ เป็นต้น
  • การสหกรณ์ในอินเดีย เริ่มต้นจากสหกรณ์ภาคเกษตร ตอนปลายศตวรรษที่ 19 การทำการเกษตรของเกษตรกรที่ยากจนและมีหลายวรรณะแบ่งแยกชนชั้นในสังคม เกษตรกรมีปัญหาเรื่องหนี้สินมากที่สุด ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ตรากฎหมายขึ้นเป็นฉบับแรกของอินเดีย(Cooperative Credit Societies Atc. 1904) ระบบสหกรณ์

ได้กลายเป็นเป้าหมายสำคัญของรัฐบาลกลางมาทุกสมัยในการแก้ไขปัญหาความแตกต่างระหว่างชนชั้นของอินเดีย เป็นกลไกลในการผลักดันเศรษฐกิจของชุมชน จังหวัด และระดับรัฐ  สหกรณ์สามารถเป็นกำลังหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เข้าถึงประชาชนทุกวรรณะ  ผู้นำแห่งรัฐจึงกำหนดให้ทุกจังหวัดดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้วยระบบสหกรณ์เท่านั้น ทุก ๆ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะหรือชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

  

       ต่อมาในปี ค.ศ. 1942 รัฐบาลกลางได้ตรากฎหมายสหกรณ์ เป็นกฎหมายรวมที่นำไปใช้ได้ทุกรัฐ(Multi-Unite Cooperative Societies Act 1942)  กิจการสหกรณ์ก็ได้เริ่มขยายตัวขึ้นมาเรื่อย ๆ จนถึงปี ค.ศ. 1960 รัฐบาลอินเดีย นอกจากการเน้นปรับปรุงระบบสินเชื่ออย่างเดียวกลับเน้นให้รัฐบาลในแต่ละรัฐ เข้าไปลงทุนสนับสนุนสหกรณ์ทั้งการเงินและการจัดการ  จำนวนสหกรณ์สินเชื่อขั้นปฐมในชุมชนจึงได้ทำหน้าที่ เช่น บริการสินเชื่อ การผลิต การตลาด จัดหาปัจจัยการผลิต การจัดหาที่อยู่อาศัยให้ ผลิตนม สิ่งทอ ฝ้าย เป็นต้น  ส่วนนโยบายรัฐบาลกลางและในระดับรัฐ ต้องกำหนดให้การส่งเสริมสนับสนุนระบบสหกรณ์อย่างชัดเจน ทั้งด้านเงินทุน การตลาดสินค้าเกษตร การจัดการภายในสหกรณ์  การใช้เทคโนโลยีในสหกรณ์  ทุกรัฐบาลจะต้องเน้นการพัฒนาการเกษตรให้มีความเร่งการเจริญเติบโตทางธุรกิจการเกษตร การพัฒนาโครงการพื้นฐาน การเพิ่มมูลค่าผลผลิตให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดี รัฐมีเป้าหมาย  3  ประการ คือ

  • การอุดหนุนสหกรณ์การเกษตรเป็นกรณีพิเศษ ในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลทุรกันดาร

  • ภายใต้การส่งเสริมของรัฐบาลกลาง ให้อำนวยความสะดวกทุกประการต่อขบวนการสหกรณ์

ให้รัฐบาลแต่ละรัฐทั้ง 28 รัฐ 7 เขตพื้นที่การปกครองพิเศษ ส่งเสริมการสหกรณ์บนพื้นที่ฐานของเกษตรกร โดยเน้นการพึ่งตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การรับผิดชอบตนเอง ความเป็นประชาธิปไตย ความเสมอภาค และการส่งเสริมให้แพร่กระจายในแนวกว้าง  กิจการสหกรณ์ในอินเดียจึงได้เกิดขึ้นอย่างเต็มตัวและเพิ่มขึ้นอย่าวงรวดเร็ว

ปัจจุบันการสหกรณ์ในประเทศอินเดีย   มีอยู่  2 ประเภท คือ สหกรณ์ที่มีการให้สินเชื่อ และสหกรณ์ประเภทที่ไม่ให้สินเชื่อ  ในอินเดียมีสหกรณ์ทุกประเภททุกระดับ จำนวนทั้งสิ้น 595,215 สหกรณ์ และมีสมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศอินเดีย  จำนวนทั้งสิ้น  249,248,025  คน มากที่สุดในโลก

  1. ประเภทสหกรณ์ที่มีการให้สินเชื่อ ได้แก่ ประเภทธนาคารกลางสหกรณ์  ประเภทธนาคารพัฒนาชนบทและสหกรณ์ขั้นปฐม ประเภทธนาคารสหกรณ์ระดับปฐม ประเภทสินเชื่อนอกภาคเกษตรระดับปฐม และประเภทธนาคารพัฒนาชนบทและสหกรณ์การเกษตรระดับรัฐ
  2. สหกรณ์ประเภทที่ไม่ให้สินเชื่อ ได้แก่ ประเภทสหกรณ์ตลาดรวม สหกรณ์ผู้บริโภค สหกรณ์ผู้ผลิตนมและชุมนุมสหกรณ์ สหกรณ์ประกันภัย  สหกรณ์เคหสถาน  สหกรณ์การชลประทาน สหกรณ์นักเรียน  สหกรณ์ปุ๋ยเกษตรกรระดับชาติแห่งอินเดีย (India Farmers Fertilizers Cooperative Limited : IFFCO) สหกรณ์แรงงานสตรี  ชุมนุมสหกรณ์ผู้ผลิตนมแห่งรัฐ

ส่วนโครงสร้างสหกรณ์ในประเทศอินเดีย  แบ่งออกเป็น  4  ระดับ  ได้แก่

  1. สหกรณ์ระดับปฐม ซึ่งเป็นสหกรณ์ขนาดเล็กในชุมชน ท้องถิ่น สหกรณ์สินเชื่อขนาดเล็กขั้นปฐมจะให้เงินกู้แก่สมาชิกไปลงทุนฯ เช่น จะมีธนาคารสหกรณ์ระดับปฐมในการให้สินเชื่อ
  2. สหกรณ์ระดับจังหวัดหรือรัฐ มีทั้งเป็นชุมนุมสหกรณ์ระดับจังหวัด และเป็นสหกรณ์ ส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์ทำฟาร์มขนาดใหญ่ มีแหล่งเงินทุนจากธนาคารสหกรณ์ระดับรัฐ คอยสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้กับสหกรณ์และสมาชิก                                                                                   
  3. ชุมนุมสหกรณ์หรือสมาพันธ์สหกรณ์ระดับรวมรัฐ หรือภูมิภาค ประกอบด้วยชุมนุมสหกรณ์หลายรัฐมารวมกัน ซึ่งมีหน้าที่ประสานการทำงานพัฒนาสหกรณ์ทั้งด้านธุรกิจ การเงิน นโยบาย การแก้ไขกฎหมายระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นกับสหกรณ์                                               
  4.  สหพันธ์สหกรณ์ระดับชาติหรือชุมนุมระดับชาติ ประกอบด้วยสมาพันธ์สหกรณ์ระดับชาติ สหกรณ์ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการผลิตจำหน่ายปุ๋ย  สหกรณ์นม สหกรณ์สตรีและสหกรณ์แรงงานและสหกรณ์ลักษณะอื่น ๆ เป็นศูนย์รวมกิจการสหกรณ์ทั้งหมด ทำหน้าที่สนับสนุนการลงทุน การออก

          กฎหมายให้คุ้มครองสหกรณ์ ประสานงานกับพรรคการเมือง และรัฐบาล การจัดการอบรมให้สหกรณ์ระดับปฐมจนถึงระดับชาติ แต่ทั้งหมดมารวมเป็นสหภาพสหกรณ์แห่งชาติอินเดีย(National Cooperative Union of India : NCUI)   ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาขบวนการสหกรณ์ในอินเดียเป็นอย่างมาก

          สังคมหลักสหกรณ์การเกษตรมีบทบาทสำคัญมากในการผลิตการจัดซื้อ และการจัดจำหน่ายผลิตผลการเกษตรทั่วประเทศด้วยการสนับสนุนของธนาคารกลางสหกรณ์ระดับอำเภอ, และธนาคารของรัฐแห่งชาติธนาคารเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท เช่น NABARD สำหรับการให้สินเชื่อ มีทั้งสินเชื่อระยะสั้น  สินเชื่อระยะกลาง และระยะยาว  นอกจากนั้น ยังมีโครงสร้างธนาคารสหกรณ์มีบทบาทสำคัญ มีประมาณ 2000 ธนาคารสหกรณ์ในเมืองที่ให้วงเงินสินเชื่อที่จำเป็นมากสำหรับการทำงานธุรกิจขนาดเล็ก